วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2555
กิจกรรมการเรียนการสอน
        อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอผลงานที่ยังไม่ได้รายงานพร้อมกับแนะนำการทำ บล็อกสำหรับเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาว่าควรทำสิ่งใดบ้างและควรเพิ่มเติมจุดดึงดูดความสนใจจากผู้เข้าชมได้อย่างไร
เนื้อหาการเรียนการสอน
        อาจารย์กล่าวสรุปเนื้อหาของรายวิชาว่ามีอะไรบ้างเพื่อเตรียมตัวสอบปลายภาค




ภาษาธรรมชาติ (Whole Language) ดร. วรนาถ รักสกุลไทย และดร. ภัทรดา พันธุ์สีดา

        แม้ไม่เรียนเขียนอ่าน้ป็นหลัก แต่ในช่วงปฐมวัย คุณครูส่ามารถจัดการเรียนการสอนเำพื่อส่งเสรืมให้เด็กรักภาษาด้วยทฤษฎี "ภาษาธรรมชาติ"โดยเน้นพัฒนาการเด็ก ฟัง พูด อ่าน เขียน วิธีนี้จะทำให้เด็กเกิดความรักในการเรียนภาษาที่ยั่งยืน 

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2555
กิจกรรมการเรียนการสอน
        อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอผลงานการแต่งเพลงสำหรับเด็กและเทคนิคในการเล่านิทานต่อจากสัปดาห์ที่แล้วโดยแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คน พร้อมกับบันทึกวีดีโอขณะกำลังนำเสนอผลงานด้วย
เนื้อหาการเรียนการสอน
        การแต่งเพลง
กลุ่มที่1 พราว  ชื่อเพลง  ตาหูจมูก
          ดวงตาฉันอยู่ที่ไหน                 รู้ไมช่วยบอกฉันที
    ดวงตาฉันอยู่ที่นี่                          ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง
    ใบหูฉันอยู่ที่ไหน                          รู้ไหมช่วยบอกฉันที
    ใบหูฉันอยู่ที่นี่                             ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง
    จมูกฉันอยู่ที่ไหน                          รู้ไหมช่วยบอกฉันที
    จมูกฉันอยู่ที่นี่                             ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง  (ซ้ำ)
กลุ่มที่ 2 แอม   เพลง   กินผัก ผลไม้
         กินผักแล้วมีประโยชน์              ไม่เคยมีโทษมีแต่วิตามิน
    เกลือแร่ก็มีมากมาย                      อีกทั้งกากใยถูกใจจริงจริง
    กินเท่าไหร่ก็ไม่มีอ้วน                    กินเท่าไหร่ก็ไม่มีอ้วน
    ของดีล้วนล้วนไม่ควรเขี่ยทิ้ง
        เทคนิคการเล่านิทาน
นิทานกลุ่มที่ 1   เฟริ์น      เรื่อง     ดาวนน้อยลอยในทะเล          เทคนิคการเล่นแบบ    เล่าไปฉีกไป
นิทานกลุ่มที่ 2   ปักเป้า    เรื่อง     ความสามัคคีของผีเสื้อ         เทคนิคการเล่นแบบ    เล่าด้วยเชือก
นิทานกลุ่มที่ 3   หนิง       เรื่อง    ยักษ์ 2 ตนหัวใจเดียวกัน        เทคนิคการเล่นแบบ    เล่าไปพับไป
นิทานกลุ่มที่ 4   หยก       เรื่อง            ชายขี้เบื่อ                  เทคนิคการเล่นแบบ     เล่าไปพับไป
นิทานกลุ่มที่ 5   เอ๋ย        เรื่อง           พระจันทร์ ยิ้ม               เทคนิคการเล่นแบบ     เล่าไปตัดไป
นิทานกลุ่มที่ 6   ส้ม         เรื่อง              เต่าขี้บ่น                   เทคนิคการเล่นแบบ    เล่าด้วยเชือก
นิทานกลุ่มที่ 7   เพลง       เรื่อง       กระต่าบกับแครรอท          เทคนิคการเล่นแบบ     เล่าด้วยเชือก
นิทานกลุ่มที่ 8   แป้ง        เรื่อง          ครอบครัวทั้ง 4             เทคนิคการเล่นแบบ     เล่าด้วยเชือก
นิทานกลุ่มที่ 9   แอม        เรื่อง            เรือโจรสลัด                เทคนิคการเล่นแบบ      เล่าไปฉีกไป
นิทานกลุ่มที่ 10 แกน        เรื่อง           หัวใจล้านดวง               เทคนิคการเล่นแบบ     เล่าไปฉีกไป
นิทานกลุ่มที่ 11 พราว       เรื่อง         เจ้าหมีกับผึ้งน้อย            เทคนิคการเล่นแบบ     เล่าไปตัดไป
นิทานกลุ่มที่ 12 กวาง       เรื่อง              เพื่อน                      เทคนิคการเล่นแบบ    เล่าไปวาดไป
สิ่งที่ได้จากการเรียนการสอน
        - ได้รับความรู้ถึงเทศนิคและหลักในการแต่งเพลงที่ถูกต้อง
        - ได้รูถึงเทคนิคในการเล่านิทานว่ามีกี่ประเภทอะไรบ้าง
        - ได้ฝึกการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
เนื้อหาเพิ่มเติม
หลักการแต่งเพลงสำหรับเด็ปฐมวัย 
1 ต้องศึกษาทำนองของเพลงนั้นเสียก่อนว่าเราอยากได้เพลงแบบไหน
2 ต้องร้องเพลงนั้นได้อย่างถูกต้องตามอักขระ และตามทำนอง
3 ต้องเป็นเพลงที่ไม่เร็วหรือช้าเกินไปและเนื้อหาเพลงสอดแทรกคุณธรรม
4 อาจนำดนตรีและทำนองของนักร้องวัยรุ่นที่เป็นที่รู้จักสำหรับเด็ก มาปรับเปลี่ยนเนื้อหาแต่ใช้ดนตรีเดิมซึ่งจะทำให้เด็กจำได้ดียิ่งขึ้น
5 เนื้อหาในเพลงที่แต่งต้องไม่ยากเกินไป
6 แต่งเพลงให้ตรงกับหน่วยการเรียนที่สอน
7 ใช้สิ่งรอบตัวเด็กมาแต่งเป็นเพลงก็ดี
8 ให้เด็กร่วมกันแต่งเพลงขึ้นมาร่วมกันแต่งทำนองเอง
9 แต่งเพลงให้มีวรรคตอนที่สัมพันธ์กัน
 

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2555

กิจกรรมการเรียนการสอน

อาจารย์นำนักศึกษาเข้าร่วมชมนิทรรศการอาเซียนที่คณะศึกษาศาสตร์ 
โครงการศึกษาศาสตร์วิชาการ
คุณภาพการศึกษาไทยก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซียน
โดยมีการบรรยายพิเศษจาก ผอ. ราตรี  ศรีไพรวรรณ    เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน

เนื้อหาการเรียนการสอน

        คำขวัญ One Vision One ldentity One Community หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งอัตลักษณ์ และหนึ่งประชาคมเป็นคำขวัญที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของอาเซียนทีบ่งบอกถึงความร่วมมือกันและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มประเทศสมาชิกได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ลาว พม่า บรูไน และ กัมพูชา รวมกัน10ประเทศซึ่งความร่วมมือกับของประเทศสมาชิกมีวัตถุประสงค์ร่วกันคือ 1)      เรื่องการเมืองและความมั่นคง 2)      เรื่องเศรษฐกิจ 3)      สังคมและวัฒนธรรม
        ซึ่งเพลงอาเซียนที่แสดงถึงอาเซียนนั้นแต่งโดยนักประพันธ์ชาวไทย นายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) ได้เริ่มใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งมีเนื้อเพลงในรูปแบบของภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ดังนี้
        เนื้อร้องรูปแบบภาษาอังกฤษ
          Raise our flag high, sky high.  Embrace the pride in our heart. 
        ASEAN we are bonded as one. Look'in out to the world. 
        For peace our goal from the very start  And prosperity to last.
        We dare to dream,  We care to share.  Together for ASEAN.    
        We dare to dream,  We care to share  For it's the way of ASEAN.
        เนื้อร้องรูปแบบภาษาไทย
        พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด     ใต้หมู่ธงปลิวไสว     สัญญาณแห่งสัญญาทางใจ     วันที่เรามาพบกัน
        อาเซียนเป็นหนึ่งดังที่ใจเราปรารถนา     เราพร้อมเดินหน้าไปทางนั้น
        หล่อหลอมจิตใจ     ให้เป็นหนึ่งเดียว     อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
        ให้สังคมนี้     มีแต่แบ่งปัน     เศรษฐกิจมั่นคงก้าวไกล






ประเทศอาเซียน


 

อาชีพที่มีโอกาสทำงานในอาเซียน







วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 2555
กิจกรรมการเรียนการสอน
        - อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มคิกคำขวัญเลิกเหล้าออกพรรษา
        - อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอเพลงที่แต่งใหม่โดยใช้ทำนองเพลงเดิมและให้แต่ละกลุ่มนำเสนอเพลง


 

 

กลุ่ม ธ,ท : เลิกเถอะ!!..สุรามีพิษร้าย อันตรายถึงชีวิต
กลุ่ม ล : มาพวกเรามา คว่ำแก้วเลิกเหล้า ครอบครัวมีความสุข จริงๆนะ
กลุ่ม จ : รู้ทั้งรู้..สุราทำลายจิต คิดสักนิดก่อนดื่มมัน
กลุ่ม ว : รักครอบครัว รักชีวิต คิดสักนิดก่อนดื่มเหล้า..นะจ๊ะ
กลุ่ม ส : เลิกเหล้า เลิกจน..เทิดไท้องค์ราชันย์
กลุ่ม พ : เหล้าทำลายสุขภาพจิต ทำลายชีวิตคนไทย
กุล่ม น : สุราคือชีวิต เลิกเถิดก่อนชีวิตจะวอดวายเพื่อสายใยในครอบครัว
กลุ่ม ป : เลิกดื่ม เลิกเหล้า เลิกจน รวยจริงๆนะพี่
กลุ่ม ย : พี่จ๋า..รักชีวิต รักครอบครัว อย่ามัวเมาสุรา..น้องขอร้อง
กลุ่ม ต : บุรุษสตรีชะนีข้ามเพศ..โปรดเลิกเหล้าเพื่อให้ทาน เลิกพาลด้วยการเลิกดื่มเหล้า
กลุ่ม ร : เพื่อนเอย..เหล้าเบียคือยาพิษ อย่าหลงผิดริอาจลอง
กลุ่ม ด : ถ้ารักน้องจริง เลิกเหล้า เลิกจน เริ่มมีสติ เพื่ออนาคตของเรา
กลุ่ม ม : คิดสักนิด..ดื่มเหล้า เสียตังค์ เสียสติ
กลุ่ม ช : พ่อจ๋า..สุราทำลายชีวิต อย่าหลงผิดคิดดื่มสุรา หนูจะพาพ่อดื่มนม
กลุ่ม ถ : อยากให้พี่เพิ่มอายุ เพิ่มชีวิต ด้วยการไม่ดื่มสุรา
กลุ่ม พ : โปรดหยุด!..เหล้าทำลายสุขภาพจิต ทำลายชีวิตคนไทย
กลุ่ม บ : ประกาศ..ช่วงนี้ชี้แนะ..งดเหล้าออกพรรษา ปีศาจสุราไม่ครองเมือง
เนื้อหาการเรียนการสอน
        เรียนเรื่องการสื่อสารทางภาษาระหว่างบุคคลควรใช้เทคนิคใดในการติอต่อสื่อสารเพื่อให้ผู้ฟังสนใจที่จะสื่อสารกับเรา ตัวอย่างเช่น จากิจกรรมการแต่งคำขวัญ ต้องสร้างจุดดึงดูดให้ผู้สนใจอ่าน เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2555
กิจกรรมการเรียนการสอน
-         อาจารย์ได้เล่าเรื่องย่อของ นิทาน  ช้างน้อยอัลเฟรดให้ฟัง
-         กิจกรรมการตีความจากการฟังเพลง เกาะสมุย
-         อาจารย์ให้นัดศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสื่อสารว่ามีอะไรบ้าง
-         จับสลากการเล่านิทานโดยการใช้เทคนิคต่างๆ
เนื้อหาการเรียนการสอน       


  

เรื่องย่อของ  ช้างน้อยอัลเฟรด                                                                                                           
อัลเฟรตเป็นช้างน้อยที่มีงวงยาวมาก อัลเฟรตรู้สึกอายที่ตนมีงวงยาวกว่าช้างตัวอื่นๆ จึงพยายามซ้อนงวงของตน วันหนึ่งอัลเฟรตได้ยินเสียงร้องขอความช่วบเหลือของเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติด อยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรตได้ใช้งวงช่วยเด็ก ผู้หญิงลงมา สัตว์ตัวอื่นพากันชื่นชมอัลเฟรตตั้งแต่นั้นมา อัลเฟรตก็อยู่อย่างมีความสุขแม้ว่าตนไม่เหมือนใคร
ความสำคัญของภาษา         
1.ภาษาเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตที่ต้องติดต่อสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมที่ตนดำรงอยู่
2.ภาษาเป็นกิจกรรมสำคัญในการจัดการเรียนการสอนทั้งในและนอกระบบโรงเรียน
3.ภาษาเป็นสื่อสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด เรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อ
4.ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่แต่ละเผ่าชน ชนชาติแสดงออกให้เห็น
5.ภาษาเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ
6.ภาษาเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ
7.ภาษาเป็นสิ่งที่ใช้แสดงออกเพื่อระบายอารมณ์จากการได้สนทนาพูดคุย
8.การใช้ภาษาของมนุษย์เป็นเครื่องบ่งบอกถึงบุคลิกภาพของผู้พูด
9.ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้โน้มน้าวใจคน
สิ่งที่ได้รับจากการเรียนการสอน
-         ได้รู้ถึงความสำคัญของการใช้ภาษาในการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย
-         สามารถนำการตีความจากการจัดกิจกรรมมาประยุกต์ใช้ในการตีความฟฤติกรรมของเด็กได้
                                                                                                    

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2555
กิจกรรมการเรียนการสอน
        - อาจารย์สอนเรื่องการใช้สื่อ และการเข้าถึงสื่อต่างๆ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อที่จะนำมาเล่นให้เพื่อนๆ ฟัง
        - ให้นักศึกษาคิดออกแบบข้อความประชาสัมพันธืมาคนละ 1 เรื่อง
        - ให้นักศึกษา ศึกษาถึงหลักการในการประชาสัมพันธ์ต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบใดบ้าง
เนื้อหาการเรียนการสอน
        อาจารย์อธิบายถึงรูปแบบของกสรสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เช่น การเล่าข่าว การเล่าประสบการณ์ของตนเอง การโฆษณา นั้น สิ่งเหล่านี้เมื่อมองจากภายนอกอาจไม่เห็นว่าเป็นการสื่อสารที่ชัดเจน แต่เมื่อศึกษาและวิเคราะห์อย่างถ่องแท้แล้วนั้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นกระการสื่อสารด้วยกันทั้งสิ้นซึ่งอาจแตกต่างกันเพียงแค่รูปแบบเท่านั้น
เนื้อหาเพิ่มเติมนอกเหนือจากการเรียนการสอน
องค์ประกอบของการประชาสัมพันธ์
     องค์ประกอบของการประชาสัมพันธ์  หากพิจารณาถึงกระบวนการติดต่อสื่อสารแล้ว มีองค์ประกอบใหญ่ ๆ 4 ประการด้วยกัน คือ (ปฤฐฎาง จันทร์บุญเรือง, 2547, หน้า 31-33)
     1. องค์กรและสถาบัน หมายถึง กิจการที่บุคคลหรือคณะบุคคลได้จัดทำขึ้นโดยประสงค์ที่จะดำเนินการใด ๆ ในสังคมให้ลุล่วงไปตามความปรารถนาของบุคคลหรือคณะบุคคลนั้น
     2. ข่าวสารประชาสัมพันธ์ (message) หมายถึง เนื้อหาสาระ เรื่องราวหรือสัญลักษณ์ ภาษา สัญญาณต่าง ๆ รูปภาพ เครื่องหมาย ฯลฯ ที่สามารถสื่อความหมายหรือนำไปตีความหมายเป็นที่รู้และเข้าใจกันได้ ข่าวสารประชาสัมพันธ์จะมีเนื้อหาสาระที่มีความหมายแก่ผู้รับเสมอ และต้องสอดคล้องไม่ขัดแย้งกับระบบค่านิยม (value system) ความเชื่อหรือปทัสถานของกลุ่ม (group norm) นอกจากนี้ต้องมีความกระชับ ชัดเจนเข้าใจง่าย ตลอดจนไม่เกิดความยุ่งยากในการรับสาร
     3. เครื่องมือในการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ หมายถึง สื่อที่องค์กร สถาบัน เลือกมาใช้ในการนำข่าวสารประชาสัมพันธ์ขององค์กรไปสู่ประชาชน โดยพิจารณาจากคุณสมบัติของสื่อ ความสำคัญของสื่อ วัตถุประสงค์ ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบต่าง ๆ ของกระบวนการสื่อสาร
     4. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในการประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับประชาชน ซึ่งคำว่า ประชาชน มีความหมายกว้างไกลครอบคลุมถึงสมาชิกทุกคนของสังคม และมีความหลากหลายแตกต่างกันทั้งอายุ เพศ การศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ/สังคม ภูมิลำเนา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีกลุ่มเป้าหมายในการประชาสัมพันธ์ขององค์กร จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
          4.1 กลุ่มประชาชนภายใน เป็นกลุ่มบุคลากรในองค์กรตั้งแต่ระดับผู้บริหารเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีความสัมพันธ์และผูกพันกับองค์กร มีผลประโยชน์ร่วมกันกับองค์กรดังนั้น งานประชาสัมพันธ์จึงเข้ามามีบทบาทในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในองค์กร
          4.2 กลุ่มประชาชนภายนอก เป็นกลุ่มประชาชนที่ประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กับองค์กร เช่น กลุ่มลูกค้า กลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มคนทั่วไปที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการดำเนินกิจการขององค์กร เป็นต้นว่า กลุ่มคนในละแวกใกล้เคียง กลุ่มสื่อมวลชน กลุ่มผู้นำความคิดเห็น ทั้งนี้เพื่อชี้แจงชักชวนให้กลุ่มดังกล่าวมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานขององค์กร ทำให้องค์กรดำเนินกิจการได้อย่างราบรื่น
สิ่งที่ได้จากการเรียนการสอน
        - ได้ทรายถึงรูปแบบของการสื่อสารว่าไม่จำเป็นต้องสื่อสารกันโดยตรงเพียงเท่านั้นอาจสื่อสารกันโดยอ้อย โดยอาจผ่านสื่อกลาง ต่างๆ เช่นการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นต้น 

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม 2555
กิจกรรมการเรียนการสอน
        จารย์ให้นักศึกษานำเสนอผลงาน การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็ก ซึ่งแต่ละกลุ่มจะทำการจับฉลากเพื่อนำหัวข้อที่ได้เช่น การจัดกิจกรรมเล่านิทานโดยใช้ big book การจัดกิจกรรมเล่นนิทานโดยใช้สืออิเล็กทรอนิกส์เช่น วีดีโอ วีซีดี เป็นต้น
        ซึ่งกลุมของข้าพเจ้าได้หัวข้อ การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาโดยการเปิด วีซีดี ให้น้องดู กลุ่มของข้าพเจ้าได้ไปจัดกิจกรรมกับน้องชื่อ น้องกาฟิลด์ กำบังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล1 โรงเรียนอนุบาลวัดลาดพร้าว ซึ่งในตอนแรกที่เข้าไปทำความคุ้นเคยกับน้องนั้น น้องยังรู้สึดเขินอายไม่กล้าพูดด้วยและเมื่อทำความคุ้นเคยไปได้สักพัดนึง น้องเริ่มมีการพูดคุยกับพี่มากขึ้น จึงเปิดวีซีดี เรื่อง ทอมแอนด์เจอรี่ให้น้องดู พร้อมกับสังเกตพฤติกรรมของน้องตามไปด้วย
เนื้อหาการเรียนการสอน
        พฤติกรรมที่เด็กแต่ละคนแสดงออกนั้นย่อมมีความแตกต่างกันออกไปตามองค์ประกอบต่างๆ เช่น วัย การอบรมเลี้ยงดูของผูใกล้ชิด สติปัญญาของเด็กที่แตกต่างกันออกไป และรวมถึงสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวเด็กด้วย ซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีพฤติกรรมแสดงออกมาอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับปัจจับข้างต้นด้วย ดังจะเห็นได้จากการนำเสนอการจัดกิจกรรมของแต่ละกลุ่มที่มีผลออกมาแตกต่างกัน ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะได้เด็กที่มีอายุแตกต่างกัน เป็นต้น
เนื้อหาเพิ่มเติม
พัฒนาการของภาษาและการพูดในเด็กปกติ
แรกเกิด-1 เดือน ได้ยินเสียงดัง, ได้ยินเสียงพูดอาจหันเวลาตื่นเต็มที่ สะดุ้ง ผวา กะพริบตา หยุดฟังเริ่มทำเสียงในคอ
2 เดือน สนใจเวลามีคนใกล้และพูดคุย สบตา ยิ้ม ส่งเสียงอ้อแอ้
3-4 เดือน หันหาเสียงพูด (ข้างๆ) ส่งเสียงโต้ตอบ ทำเสียง "อาอือ" หัวเราะเสียงดัง
6-9 เดือน หันหาเสียงกระดิ่งข้างๆ บนและล่าง เล่นเสียงสูงๆ ต่ำๆ เริ่มมีเสียงพยัญชนะ
10-12 เดือน ทำตามคำสั่งง่าย ๆ โดยท่าทางประกอบคำสั่ง (One Step Command Without Gesture) เปล่งเสียงซ้ำๆ เลียนเสียงพูด พูดอย่างมีความหมาย 1 คำ
12-15 เดือน พูดคำโดยที่มีความหมาย 3-6 คำ พูดเลียนคำท้าย
15-18 เดือน ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ 1 ขั้น (One Step Command Without Gesture) พูดคำที่มีความหมายทีละ 1-2 คำติดกัน ชี้อวัยวะร่างกายตามบอกได้
2 ปี เข้าใจ "บน ล่าง ข้าง ๆ " พูดเป็นวลี 2-3 คำ พูดอาจไม่ชัด และตะกุกตะกัก แต่คนในครอบครัวฟังเข้าใจประมาณครึ่งหนึ่ง
3 ปี รู้จักเพศของตนเอง พูดเป็นประโยค 3-4 คำได้ มักใช้เฉพาะคำสำคัญที่เป็นเนื้อหา เช่น คำนาม กริยา บางคำอาจไม่ชัด แต่คนทั่วไปจะฟังเข้าใจประมาณครึ่งหนึ่ง
4 ปี เข้าใจคำวิเศษณ์ เช่น ร้อน เย็น ใหญ่ เล็ก รู้จักสี 4 สี พูดเรียงลำดับในประโยคได้ถูก เล่าเรื่องให้คนทั่วไปฟังเข้าใจได้ คำพูดส่วนใหญ่จะชัดเจน และมีจังหวะปกติ ยกเว้นบางพยัญชนะเช่น ส, , ,
5 ปี เข้าใจความหมายของศัพท์ คำตรงข้าม และคำเหมือน ใช้ไวยากรณ์ได้ถูกต้อง อธิบายความหมายได้ พูดชัดเกือบทั้งหมด จังหวะปกติ
8 ปี เข้าใจก่อน-หลังได้ดี สามารถพูดเป็นประโยค เรียบเรียงได้ เช่นเดียวกับผู้ใหญ่
สิ่งที่ได้รับจากการเรียนการสอน
        ทราบถึงพํฒนาการทางภาษาของเด็กแต่ละวัยซึ่งจะมีความแตกต่างกันและสามารถนำไปส่งเสริมและจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กให้เหมาะสมตามวัยได้